บ้านนาฝาย หมู่ที่ 12 ตำบลหัวเรือ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
********************************************************************************
บ้านนา ฝาย
ประวัติหมู่บ้าน
บ้านนาฝาย หมู่ที่ 12 ตำบลหัวเรือ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ได้เริ่มก่อตั้งในปี
พ.ศ. 2480 หรือประมาณ 73 ปีมาแล้ว โดยมีคนกลุ่มแรกที่เข้ามาเริ่มก่อตั้งหมู่บ้าน จำนวน 6 ครอบครัว ซึ่งประกอบด้วย ครอบครัวนายแหล่ สิงห์เสน ครอบครัวนายจำปา ปัจจัย ครอบครัวนายซา ศรีพิษ ครอบครัวนายอ่ำ บุญเรือ ครอบครัวนางหนึ่ง ปิจจโร และครอบครัวนายโม้ ขันทัพไทย ซึ่งได้ย้ายมาจากบ้านดงเค็ง ตำบลหัวเรือ อำเภอวาปีปทุม มาอยู่ตามหัวไร่ปลายนา เมื่อปี พ.ศ. 2479 สาเหตุที่ทำให้ 6 ครอบครัวต้องย้ายมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นี่ เนื่องจากเกิดโรคระบาดร้ายแรงทำ ให้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก ประกอบด้วยความเชื่อทางไสยศาสตร์ จึงมีการอพยพไปอยู่ตามหัวไร่ปลายนาที่เป็นของตนเอง โดยเลือกทำเลโนนหนองโอ้เป็นที่ตั้งหมู่บ้าน เพราะมีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ และใช้ชื่อหมู่บ้านตามทำเลที่ตั้งว่า บ้านหนองโอ้ ต่อมามีผู้อพยพมาสมทบมากขึ้น ทำให้มีจำนวนครัวเรือนเพิ่มขึ้น จึงมีการเลือกผู้ขึ้นปกครองเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2480 คือ นายแหล่ สิงห์เสน เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก และได้เปลี่ยนชื่อบ้านจากบ้านหนองโอ้ มาเป็นบ้านนาฝาย จนมาถึงปัจจุบันนี้
พ.ศ. 2480 หรือประมาณ 73 ปีมาแล้ว โดยมีคนกลุ่มแรกที่เข้ามาเริ่มก่อตั้งหมู่บ้าน จำนวน 6 ครอบครัว ซึ่งประกอบด้วย ครอบครัวนายแหล่ สิงห์เสน ครอบครัวนายจำปา ปัจจัย ครอบครัวนายซา ศรีพิษ ครอบครัวนายอ่ำ บุญเรือ ครอบครัวนางหนึ่ง ปิจจโร และครอบครัวนายโม้ ขันทัพไทย ซึ่งได้ย้ายมาจากบ้านดงเค็ง ตำบลหัวเรือ อำเภอวาปีปทุม มาอยู่ตามหัวไร่ปลายนา เมื่อปี พ.ศ. 2479 สาเหตุที่ทำให้ 6 ครอบครัวต้องย้ายมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นี่ เนื่องจากเกิดโรคระบาดร้ายแรงทำ ให้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก ประกอบด้วยความเชื่อทางไสยศาสตร์ จึงมีการอพยพไปอยู่ตามหัวไร่ปลายนาที่เป็นของตนเอง โดยเลือกทำเลโนนหนองโอ้เป็นที่ตั้งหมู่บ้าน เพราะมีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ และใช้ชื่อหมู่บ้านตามทำเลที่ตั้งว่า บ้านหนองโอ้ ต่อมามีผู้อพยพมาสมทบมากขึ้น ทำให้มีจำนวนครัวเรือนเพิ่มขึ้น จึงมีการเลือกผู้ขึ้นปกครองเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2480 คือ นายแหล่ สิงห์เสน เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก และได้เปลี่ยนชื่อบ้านจากบ้านหนองโอ้ มาเป็นบ้านนาฝาย จนมาถึงปัจจุบันนี้
วิสัยทัศน์ของหมู่บ้าน
พัฒนาชุมชนบ้านน่าอยู่ เฟื่องฟูวัฒนธรรม
ใฝ่นำการเรียนรู้ เชิดชูอาชีพหลากหลาย
กลุ่มเป้าหมายเกษตรปลอดสารพิษ
มุ่งสู่เศรษฐกิจพอเพียง
อัตลักษณ์ของหมู่บ้าน
“หมู่บ้านหัตถกรรมการทอผ้า”
“หมู่บ้านหัตถกรรมการทอผ้า”
การเมืองการปกครอง
บ้านนาฝาย เป็นหมู่บ้านส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของหมู่บ้าน จะมีการจัดประชุมประชาคมเพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา ต่าง ๆ
บ้านนาฝาย เป็นหมู่บ้านส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของหมู่บ้าน จะมีการจัดประชุมประชาคมเพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา ต่าง ๆ
ผู้ใหญ่บ้าน คนปัจจุบันคือ นายพิกุล ขันทัพไทย
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ได้แก่ นายสุพรรณ ปะวันเต
นางเบญจมาศ ทึนรส
ผู้รักษาความสงบเรียบร้อยในหมู่บ้าน (อปพร.)
ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินร่วน ปนทราย ขาดความอุดมสมบูรณ์ คุณภาพของดินต่ำ ไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก จึงทำการเกษตรทำนาได้ปีละ 1 ครั้ง ลักษณะของดิน ประกอบกับความแห้งแล้งของอากาศทำให้ได้ผลผลิตต่ำ การทำการเกษตรอาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว มีหนองน้ำธรรมชาติ คือ หนองฝาย เป็นแหล่งน้ำเลี้ยงสัตว์ ลักษณะภูมิอากาศมี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินร่วน ปนทราย ขาดความอุดมสมบูรณ์ คุณภาพของดินต่ำ ไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก จึงทำการเกษตรทำนาได้ปีละ 1 ครั้ง ลักษณะของดิน ประกอบกับความแห้งแล้งของอากาศทำให้ได้ผลผลิตต่ำ การทำการเกษตรอาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว มีหนองน้ำธรรมชาติ คือ หนองฝาย เป็นแหล่งน้ำเลี้ยงสัตว์ ลักษณะภูมิอากาศมี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว
ข้อมูลประชากร
จำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 109 ครัวเรือน จำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น 411 คน แยกเป็น ชาย 211 คน หญิง 200 คน
จำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 109 ครัวเรือน จำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น 411 คน แยกเป็น ชาย 211 คน หญิง 200 คน
ศิลปวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น
ประชาชนในหมู่บ้านยังยึด ถือขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของหมู่บ้าน ซึ่งได้สืบทอดมาตั้งแต่สมัยปู่ย่า ตายาย ยังยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีมาแต่ดั้งเดิม โดยเฉพาะฮีต 12 ครอง 14 และได้มีการทำกิจกรรมเป็นประจำทุกปี ถึงแม้ว่าบางพิธีกรรมอาจลืมเลือนลงไปบ้างแต่ก็ยังคงปฏิบัติกันอย่างเคร่ง ครั้นจนถึงปัจจุบัน งานประเพณีที่ถือปฏิบัติ “ฮีตสิบสอง” ดังนี้
เดือนมกราคม ทำบุญประเพณี บุญขึ้นปีใหม่ - ข้าวจี่ – ปริวาสกรรม
เดือนกุมภาพันธ์ ทำบุญประเพณี บุญข้าวจี่
เดือนมีนาคม ทำบุญประเพณี บุญผเหวด – บุญมหาชาติ
เดือนเมษายน ทำบุญประเพณี บุญสงกรานต์
เดือนพฤษภาคม ทำบุญประเพณี บุญเบิกฟ้า
เดือนมิถุนายน ทำบุญประเพณี บุญบวชนาค
เดือนกรกฎาคม ทำบุญประเพณี บุญเข้าพรรษา
เดือนสิงหาคม ทำบุญประเพณี บุญข้าวประดับดิน
เดือนกันยายน ทำบุญประเพณี บุญข้าวสาก
เดือนตุลาคม ทำบุญประเพณี บุญออกพรรษา
เดือนพฤศจิกายน ทำบุญประเพณี บุญลอยกระทง
เดือนธันวาคม ทำบุญประเพณี บุญกฐิน ส่งท้ายปีเก่า-ต้อนรับปีใหม่
ประชาชนในหมู่บ้านยังยึด ถือขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของหมู่บ้าน ซึ่งได้สืบทอดมาตั้งแต่สมัยปู่ย่า ตายาย ยังยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีมาแต่ดั้งเดิม โดยเฉพาะฮีต 12 ครอง 14 และได้มีการทำกิจกรรมเป็นประจำทุกปี ถึงแม้ว่าบางพิธีกรรมอาจลืมเลือนลงไปบ้างแต่ก็ยังคงปฏิบัติกันอย่างเคร่ง ครั้นจนถึงปัจจุบัน งานประเพณีที่ถือปฏิบัติ “ฮีตสิบสอง” ดังนี้
เดือนมกราคม ทำบุญประเพณี บุญขึ้นปีใหม่ - ข้าวจี่ – ปริวาสกรรม
เดือนกุมภาพันธ์ ทำบุญประเพณี บุญข้าวจี่
เดือนมีนาคม ทำบุญประเพณี บุญผเหวด – บุญมหาชาติ
เดือนเมษายน ทำบุญประเพณี บุญสงกรานต์
เดือนพฤษภาคม ทำบุญประเพณี บุญเบิกฟ้า
เดือนมิถุนายน ทำบุญประเพณี บุญบวชนาค
เดือนกรกฎาคม ทำบุญประเพณี บุญเข้าพรรษา
เดือนสิงหาคม ทำบุญประเพณี บุญข้าวประดับดิน
เดือนกันยายน ทำบุญประเพณี บุญข้าวสาก
เดือนตุลาคม ทำบุญประเพณี บุญออกพรรษา
เดือนพฤศจิกายน ทำบุญประเพณี บุญลอยกระทง
เดือนธันวาคม ทำบุญประเพณี บุญกฐิน ส่งท้ายปีเก่า-ต้อนรับปีใหม่
แหล่งท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญ
บ้านนาฝาย ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยว แต่มีสถานที่บริการประชาชนในหมู่บ้าน ได้แก่ ร้านค้าชุมชน กลุ่มอาชีพทอผ้าไหม ซึ่งมีลวดลายการมัดหมี่ที่สวยงาม มีการจัดสภาพแวดล้อมภายในหมู่บ้านที่เป็นระเบียบและสวยงาม
บ้านนาฝาย ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยว แต่มีสถานที่บริการประชาชนในหมู่บ้าน ได้แก่ ร้านค้าชุมชน กลุ่มอาชีพทอผ้าไหม ซึ่งมีลวดลายการมัดหมี่ที่สวยงาม มีการจัดสภาพแวดล้อมภายในหมู่บ้านที่เป็นระเบียบและสวยงาม
ความหมายของศูนย์เรียนรู้ชุมชน
ศูนย์เรียนรู้ชุมชน เป็นศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลข่าวสารความรู้ของชุมชนที่จะนำไปสู่การส่งเสริม กระบวนการเรียนรู้สำหรับประชาชน ในชุมชน เป็นแหล่งเสริมสร้างโอกาสในการเรียนรู้ การถ่ายทอด การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การสืบทอดภูมิปัญญา วัฒนธรรม ค่านิยม และเอกลักษณ์ของชุมชน อีกทั้งเป็นแหล่งบริการชุมชนด้านต่าง ๆ เช่น การจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการเรียนรู้ ของชุมชน โดยเน้นการกระบวนการเรียนรู้เพื่อวิถีชีวิตของคนในชุมชน เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ก่อให้เกิดชุมชนแห่ง เรียนรู้ และมุ่งการพัฒนาแบบพึ่งตนเอง เป็นศูนย์ฯ ของประชาชน ที่ดำเนินการโดยประชาชน และเพื่อประชาชน ที่จะก่อให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืน
จากความหมายข้างต้นจะเห็นได้ว่า ศูนย์เรียนรู้ชุมชนในความคาดหวังของกรมการพัฒนาชุมชน ไม่ใช่ศูนย์ฝึกอบรมประจำหมู่บ้านที่รอรับการนัดหมายจากวิทยากรภายนอก แต่จะเป็นสถานที่ที่จะสร้างความผูกพันระหว่างคนในชุมชนกับเรื่องราวของเขา เองเป็นสำคัญ
หลักการสำคัญของศูนย์เรียนรู้ชุมชน
เป็นแหล่งเรียนรู้ทุกด้าน ทุกรูปแบบไม่เน้นการเรียนการสอนในห้องเรียน
เป็นศูนย์กลางที่ประชาชนทุกคนสามารถเข้ามาเรียนรู้ ค้นคว้าหาความรู้ แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งการพบปะ สังสรรค์ เพื่อสร้างความเข้าใจ ความร่วมมือในการพัฒนาตนเองและชุมชน เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน
ภารกิจของศูนย์เรียนรู้ชุมชน จัดให้มีกิจกรรมการเรียนรู้ การถ่ายทอด การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ตลอดจนการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นและการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ ของประชาชนในชุมชน
เป็นศูนย์รวมของข้อมูล เช่น ข้อมูล จปฐ. กชช.2ค.แหล่งน้ำ กลุ่มอาชีพ ฯลฯ รวมทั้งข่าวสาร สาระความรู้ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เท่าทันสถานการณ์โลก รวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่น องค์ความรู้ของปราชญ์ชาวบ้าน องค์ความรู้ที่มีอยู่กระจัดกระจายในชุมชน และจัดการให้เป็นหมวดหมู่ มีความชัดเจนเป็นรูปธรรม ที่ประชาชนสามารถเข้าไปสืบค้นศึกษาและ เรียนรู้ได้ทุกเวลา เป็นศูนย์กลางในการจัดการความรู้ ที่ดำเนินการโดยประชาชนและเพื่อประชาชน เป็นศูนย์ประสานและบูรณาการการทำงานของทุกภาคส่วน ภาคประชาชน ได้แก่ ผู้นำ กลุ่ม/องค์กร เครือข่าย ภาคเอกชน และภาคีการพัฒนาภาครัฐ เป็นสถานที่แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ของปราชญ์ชาวบ้าน เป็นสถานที่ที่มีโครงสร้างเป็นอาคาร หรือสถานที่ใด ๆ ก็ได้ ที่มีองค์ความรู้ สามารถให้การเรียนรู้แก่ประชาชนที่ต้องการความรู้ สามารถเข้าถึงได้
องค์ประกอบ/รูปแบบ
องค์ประกอบศูนย์เรียนรู้ชุมชน
1) วิธีการก่อเกิด
ศูนย์เรียนรู้ชุมชน จะเกิดขึ้นได้ต้องเป็นความต้องการของประชาชนในชุมชน เพราะจะเป็นสมบัติของชุมชน จึงควรนำแนวคิดเข้าเวที ประชุมประชาคมของหมู่บ้าน เผยแพร่ความคิด โน้มน้าวสร้างการยอมรับ และชี้ให้เห็นความสำคัญของการมีแหล่งเรียนรู้ของชุมชน การจัดเก็บองค์ความรู้ ประวัติชุมชน และภูมิปัญญาของชุมชนอย่างเป็นระบบ การแสดงข้อมูลข่าวสารของชุมชนให้ได้เรียนรู้กันอย่าง ทั่วถึง รวมทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สม่ำเสมอ โดยเริ่มจากการจัดระเบียบแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ในชุมชน และให้เป็นไปตามกำลังที่ชุมชนจะสามารถดำเนินการได้ อีกทั้งให้มีขอบเขต และลักษณะตามความเห็นของชุมชน
2) โครงสร้าง ของศูนย์เรียนรู้ชุมชน ประกอบด้วย
คณะกรรมการ ประกอบด้วยผู้แทนจากผู้นำชุมชน กลุ่ม/องค์กร เครือข่ายองค์กรชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน อาสาสมัคร ฯลฯ โดยมาจากการคัดเลือกของชาวบ้านเอง และชาวบ้านให้การยอมรับ ซึ่งคณะกรรมการจะร่วมมือกันวางแผน และดำเนินตามแผนยุทธศาสตร์ที่ได้ร่วมกันกำหนด เพื่อ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น