ร้อยเอ็ด เท่ากับร้อยบวกหนึ่ง หรือร้อยกับหนึ่ง เขียนเลขว่า 101 ในพจนานุกรมมติชนอธิบายว่าโดยปริยายหมายความว่ามากตั้งร้อย มีตัวอย่างในกลอนบทละครนอกเรื่องสังข์ทอง ว่า “กษัตริย์ทั้งร้อยเอ็ดหัวเมืองใหญ่”
คำว่าร้อยเอ็ด ยังมีใช้ในภาษาปากชาวบ้านเป็นคำคล้องจอง เช่น ร้อยเอ็ดเจ็ดย่านน้ำ และร้อยเอ็ดเจ็ดหัวเมือง หมายถึงทั่วทุกหนแห่งหรือมากแห่ง
ชื่อเมืองร้อยเอ็ด มีในตำนานว่า “เมืองร้อยเอ็ดประตู” หมายความว่าเมืองที่มีประตูมากนับร้อย แสดงว่ามีบริวารบ้านเมืองอยู่ทิศทางต่างๆที่มีประตูเชื่อมโยงนับร้อยหนร้อยแห่ง ตรงกับนามเมืองในอุดมคติศูนย์กลางจักรวาลว่า“ทวารวดี”
ทวาร เป็นคำบาลี-สันสกฤต แปลว่า ประตู, ช่อง, ทาง เช่น ทวารบถ คือ ประตูทางเข้าออก, ทวารบาล คือนายประตู คนเฝ้าประตู
วดี เป็นคำบาลี-สันสกฤต แปลว่า รั้ว (มาจากคำ วติ, วัติ) ฉะนั้น ทวารวดี จึงแปลว่าล้อมรอบด้วยประตู ตรงกับความหมายชื่อร้อยเอ็ด อาจารย์พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ เคยเขียนไว้ว่าทวารวดีมาจากภาษาแขก ถ้าแปลเป็นภาษาลาวจะได้ว่า เมืองร้อยเอ็ดประตู แล้วยกตัวอย่างพยานคือเมือง หงสาวดี มีประตู 20 ทิศ แต่ละประตูเป็นชื่อเมืองบริวารในมณฑล เช่น ประตูเชียงใหม่ ฯลฯ
ในมหากาพย์มหาภารตะ ทวารวดี หรือทวารกา เป็นนามเมืองพระกฤษณะ แล้วบ้านเมืองและรัฐโบราณทางลุ่มน้ำเจ้าพระยา ราวหลัง พ.ศ. 2000 ขอยืมมาเรียกชื่อคือรัฐทวารวดี ในความหมายมณฑลทวารวดีของ“พระเจ้ากรุงทวารวดี” ที่เน้นองค์พระราชามหากษัตริย์มากกว่าความเป็นเมือง
ฉะนั้น เมืองร้อยเอ็ดจึงมีความหมายมากกว่าแค่บอกว่าเป็นเมืองที่มีหลักฐานตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ถึงยุคทวารวดี และมากกว่าแค่บอกว่าคูเมืองกว้างยาวเท่าไร? รูปอะไร?
ส่วนโหวด เป็นคำเดียวกับหวูด ใช้เรียกเป่าเขาควาย(เสนง)ก็ได้ แต่คนโบราณสองฝั่งโขงใช้เรียกหลอดกระบอกไม้เล็กๆขนาดสั้นยาวต่างกัน มัดรวมไว้ที่หัวบั้งไฟ เมื่อบั้งไฟขึ้นสูงสุดจนหมดแรงแล้วปักหัวลงรับลมจะมีเสียงต่างๆฟังไพเราะ
โหวดที่ใช้เป่าเข้ากับวงดนตรีทุกวันนี้ ย่อส่วนมาจากหัวบั้งไฟ แล้วอาจรับแนวคิดจากเครื่องเป่าของฝรั่งอย่างเม้าธ์ออร์แกน หรืออย่างอื่นในลักษณะเดียวกันมาประสมประสานเป็นสิ่งใหม่ ชาวบ้านใช้เป่าเล่นมาก่อนนานมากแล้ว ถือเป็นสมบัติวัฒนธรรมร่วมกันทั้งสองฝั่งโขง ไม่มีใครเป็นเจ้าของผู้เดียว หรือแห่งเดียว
คำว่าร้อยเอ็ด ยังมีใช้ในภาษาปากชาวบ้านเป็นคำคล้องจอง เช่น ร้อยเอ็ดเจ็ดย่านน้ำ และร้อยเอ็ดเจ็ดหัวเมือง หมายถึงทั่วทุกหนแห่งหรือมากแห่ง
ชื่อเมืองร้อยเอ็ด มีในตำนานว่า “เมืองร้อยเอ็ดประตู” หมายความว่าเมืองที่มีประตูมากนับร้อย แสดงว่ามีบริวารบ้านเมืองอยู่ทิศทางต่างๆที่มีประตูเชื่อมโยงนับร้อยหนร้อยแห่ง ตรงกับนามเมืองในอุดมคติศูนย์กลางจักรวาลว่า“ทวารวดี”
ทวาร เป็นคำบาลี-สันสกฤต แปลว่า ประตู, ช่อง, ทาง เช่น ทวารบถ คือ ประตูทางเข้าออก, ทวารบาล คือนายประตู คนเฝ้าประตู
วดี เป็นคำบาลี-สันสกฤต แปลว่า รั้ว (มาจากคำ วติ, วัติ) ฉะนั้น ทวารวดี จึงแปลว่าล้อมรอบด้วยประตู ตรงกับความหมายชื่อร้อยเอ็ด อาจารย์พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ เคยเขียนไว้ว่าทวารวดีมาจากภาษาแขก ถ้าแปลเป็นภาษาลาวจะได้ว่า เมืองร้อยเอ็ดประตู แล้วยกตัวอย่างพยานคือเมือง หงสาวดี มีประตู 20 ทิศ แต่ละประตูเป็นชื่อเมืองบริวารในมณฑล เช่น ประตูเชียงใหม่ ฯลฯ
ในมหากาพย์มหาภารตะ ทวารวดี หรือทวารกา เป็นนามเมืองพระกฤษณะ แล้วบ้านเมืองและรัฐโบราณทางลุ่มน้ำเจ้าพระยา ราวหลัง พ.ศ. 2000 ขอยืมมาเรียกชื่อคือรัฐทวารวดี ในความหมายมณฑลทวารวดีของ“พระเจ้ากรุงทวารวดี” ที่เน้นองค์พระราชามหากษัตริย์มากกว่าความเป็นเมือง
ฉะนั้น เมืองร้อยเอ็ดจึงมีความหมายมากกว่าแค่บอกว่าเป็นเมืองที่มีหลักฐานตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ถึงยุคทวารวดี และมากกว่าแค่บอกว่าคูเมืองกว้างยาวเท่าไร? รูปอะไร?
ส่วนโหวด เป็นคำเดียวกับหวูด ใช้เรียกเป่าเขาควาย(เสนง)ก็ได้ แต่คนโบราณสองฝั่งโขงใช้เรียกหลอดกระบอกไม้เล็กๆขนาดสั้นยาวต่างกัน มัดรวมไว้ที่หัวบั้งไฟ เมื่อบั้งไฟขึ้นสูงสุดจนหมดแรงแล้วปักหัวลงรับลมจะมีเสียงต่างๆฟังไพเราะ
โหวดที่ใช้เป่าเข้ากับวงดนตรีทุกวันนี้ ย่อส่วนมาจากหัวบั้งไฟ แล้วอาจรับแนวคิดจากเครื่องเป่าของฝรั่งอย่างเม้าธ์ออร์แกน หรืออย่างอื่นในลักษณะเดียวกันมาประสมประสานเป็นสิ่งใหม่ ชาวบ้านใช้เป่าเล่นมาก่อนนานมากแล้ว ถือเป็นสมบัติวัฒนธรรมร่วมกันทั้งสองฝั่งโขง ไม่มีใครเป็นเจ้าของผู้เดียว หรือแห่งเดียว
ความเป็นเมืองร้อยเอ็ดที่มีพัฒนาการตั้งแต่โบราณกาลก่อนยุคทวารวดี(ราวหลัง พ.ศ. 1000) สืบเป็นจังหวัดร้อยเอ็ดในปัจจุบัน เติบโตขึ้นมาด้วยผลของเส้นทางคมนาคม“ประตู”การค้ารอบทิศทาง หรือร้อยเอ็ดเจ็ดย่านน้ำ-เจ็ดหัวเมือง เป็นศูนย์กลางของการค้าผ่านทุ่งกุลาฯมาแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ราว 2,500 ปีมาแล้ว ผมเห็นว่าควรทำให้หอสูงมีความหมายมากกว่าโหวดเป่าหวูด
จะฟังคำแนะนำนี้หรือไม่ฟังก็ตามใจ ไม่มีอำนาจอะไรบังคับและไม่ว่าอะไรเลย แต่ขอยกย่องนายกเทศมนตรีและสมาชิกท้องถิ่นที่เอาใจใส่ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองร้อยเอ็ด ดังที่มีเนื้อความเขียนบอกเล่า(พิมพ์อยู่ในพื้นที่สุวรรณภูมิฯ) และขอบอกว่าร้อยเอ็ดยังมีวิชาความรู้อีกมากที่ควรแบ่งปันเผยแพร่ให้คนร้อยเอ็ด, คนอีสาน, คนไทยทั้งประเทศ, และคนสุวรรณภูมิทั้งภูมิภาคอุษาคเนย์ เช่น แอ่งอารยธรรมทุ่งกุลา มีภาชนะใส่ศพ เป็นต้นกำเนิดโกศทุกวันนี้
จะฟังคำแนะนำนี้หรือไม่ฟังก็ตามใจ ไม่มีอำนาจอะไรบังคับและไม่ว่าอะไรเลย แต่ขอยกย่องนายกเทศมนตรีและสมาชิกท้องถิ่นที่เอาใจใส่ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองร้อยเอ็ด ดังที่มีเนื้อความเขียนบอกเล่า(พิมพ์อยู่ในพื้นที่สุวรรณภูมิฯ) และขอบอกว่าร้อยเอ็ดยังมีวิชาความรู้อีกมากที่ควรแบ่งปันเผยแพร่ให้คนร้อยเอ็ด, คนอีสาน, คนไทยทั้งประเทศ, และคนสุวรรณภูมิทั้งภูมิภาคอุษาคเนย์ เช่น แอ่งอารยธรรมทุ่งกุลา มีภาชนะใส่ศพ เป็นต้นกำเนิดโกศทุกวันนี้
หอสูง ทรง“โหวด”
จังหวัดร้อยเอ็ด
จังหวัดร้อยเอ็ด
โดย นายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด
สำนักเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
สำนักเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ขอขอบคุณคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ ที่ให้ความสนใจเกี่ยวกับโครงการปรับปรุงกำแพงเมือง คลองคูเมืองร้อยเอ็ด ซึ่งลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 30 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ซึ่งรายละเอียดที่ลงตีพิมพ์อาจคลาดเคลื่อน จึงขอเรียนข้อเท็จจริงมาให้ทราบดังนี้
เมืองร้อยเอ็ด เป็นเมืองโบราณ มีการวางผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยม ซึ่งมีคูน้ำและคันดินล้อมรอบเมือง คูน้ำกว้างประมาณ 30 เมตร คันดินกว้างประมาณ 25-30 เมตร สูงประมาณ 4-5 เมตร ภายในตัวเมืองมีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ต่อเนื่องมาจนสมัยวัฒนธรรมทวารวดี คูน้ำหรือคลองคูเมือง กำแพงเมือง สภาพโดยรวมยังอยู่เกือบสมบูรณ์ มีในบางจุดที่ถูกแปรสภาพ หรือถูกทับถมไปบ้างทางทิศตะวันตกของเมือง ส่วนคันดินที่เป็นกำแพงเมือง ยังมีสภาพเป็นเนินดิน รูปร่างยาวรีขนานไปกับแนวคูน้ำวัดบูรพา ในบริเวณตรงข้ามโรงเรียนสตรีศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด บริเวณใกล้บ้านพักครูโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัยที่ยังปรากฏสภาพกำแพงเมืองที่ชัดเจน ในบริเวณอื่นถูกทำลายจนไม่เห็นสภาพแล้ว
ในปี 2544 เทศบาลฯได้กำหนดแผนปรับปรุงกำแพงเมือง คลองคูเมืองขึ้น เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการอนุรักษ์ไว้เป็นหลักฐานสำคัญคู่บ้านคู่เมือง รวมถึงพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจของชาวจังหวัดร้อยเอ็ด และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดร้อยเอ็ด จึงได้สนับสนุนงบประมาณให้สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 8 อุบลราชธานี เข้าดำเนินการศึกษาข้อมูลทางวิชาการ โดยการขุดค้น ขุดตรวจแนวกำแพงเมืองร้อยเอ็ดในบริเวณวัดบูรพาภิราม และตรงข้ามโรงเรียนสตรีศึกษา นำผลที่ได้ไปเป็นแนวทางการศึกษา การอนุรักษ์ พัฒนา ปรับปรุงสภาพกำแพงเมือง คลองคูเมืองร้อยเอ็ดต่อไป
ปี 2545 เทศบาลฯมีแผนดำเนินการปรับปรุงแนวกำแพงเมือง คลองคูเมือง รวมทั้งรื้อฟื้นองค์ประกอบของเมืองที่กล่าวถึงตามตำนานเมืองร้อยเอ็ด ได้แก่ ประตูทางเข้าเมือง 11 ประตู โดยขอความอนุเคราะห์จากนักวิชาการสาขาต่างๆของกรมศิลปากร ช่วยดำเนินการจัดทำแผนการเมืองร้อยเอ็ด ศึกษา ออกแบบการบูรณะ ปรับปรุงกำแพงเมือง คลองคูเมือง ศึกษาออกแบบทางเข้าเมือง โดยเทศบาลฯพร้อมให้การสนับสนุนงบประมาณดำเนินการ
ในปัจจุบัน เทศบาลฯยังคงดำเนินการปรับปรุงสภาพกำแพงเมือง คลองคูเมืองอย่างต่อเนื่อง ในบริเวณชุมชนพิพิธภัณฑ์ที่ถูกผู้บุกรุกเข้าไปสร้างที่พักอาศัยแบบไม่ถาวร ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ต้องปรับปรุง เทศบาลฯยึดหลักการประนีประนอม ความเข้าใจ และความจริงใจในการแก้ปัญหาที่พักอาศัย จึงได้รับความร่วมมือจากชุมชนในการย้ายเข้าไปในที่พักอาศัยแห่งใหม่ที่เทศบาลฯได้จัดเตรียมไว้ให้ ณ “ชุมชนมั่นคงพัฒนา”ที่ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากหลายหน่วยงาน อาทิ ธนารักษ์พื้นที่ร้อยเอ็ด มอบพื้นที่ในบริเวณชุมชนบ้านหนองหญ้าม้าให้เป็นสถานที่ก่อสร้างบ้าน สถาบันองค์กรพัฒนาชุมชน(พอช.) ให้เงินกู้เพื่อปลูกสร้างบ้าน ดอกเบี้ยต่ำ ผ่อนชำระได้นาน โดยพิจารณาจากความสามารถในการผ่อนชำระร่วมด้วย รวมถึงการจัดเตรียมสาธารณูปการขั้นพื้นฐาน ถนนคอนกรีตภายในหมู่บ้าน ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง น้ำประปา ศูนย์บริการสาธารณสุข ซึ่งในปัจจุบันได้มีผู้เข้าร่วมโครงการเข้าพักอาศัยในหมู่บ้านมั่นคงพัฒนาแล้วกว่า 74 ครัวเรือน และเทศบาลฯมีแผนงานที่จะนำ ผู้ที่สนใจเข้าพักอาศัยในระยะต่อไป
ในส่วนของการจัดสร้างหอชมวิว เทศบาลฯได้กำหนดพื้นที่ก่อสร้างในบริเวณกำแพงเมือง คลองคูเมือง เพื่อสอดรับกับโครงการปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ที่ได้ดำเนินการอยู่ ซึ่งได้แรงบันดาลใจจาก“โหวด” เครื่องดนตรีพื้นบ้านของจังหวัดร้อยเอ็ด อันมีต้นกำเนิดจากชาวหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด คืออาจารย์ทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์ ปราชญ์พื้นบ้านคนสำคัญ เป็นผู้คิดค้นทำโหวดจากแรงบันดาลดังกล่าว ผู้ออกแบบได้นำรูปทรงของโหวดมาเป็นแนวคิดหลัก ผสมผสานกับแนวคิดการออกแบบอาคารสมัยใหม่ ความสูงจากฐานถึงยอด 101 เมตร เน้นความกลมกลืนด้านวัฒนธรรม ความยืดหยุ่น ประโยชน์การใช้งาน ความคุ้มค่าต่อการลงทุน ชั้นบนสุดของหอชมวิวสามารถมองเห็นทิวทัศน์เมืองร้อยเอ็ดได้อย่างกว้างสุดตา พื้นที่โดยรอบหอชมวิวเป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจอีกแห่งของชาวร้อยเอ็ด คาดการณ์ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์การพัฒนา “เมืองร้อยเอ็ดน่าอยู่ ผู้คนน่ารัก ฟูมฟักตำนานเมือง ลือเลื่องประเพณีวัฒนธรรม งามล้ำแหล่งท่องเที่ยว” ที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง
เมืองร้อยเอ็ด เป็นเมืองโบราณ มีการวางผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยม ซึ่งมีคูน้ำและคันดินล้อมรอบเมือง คูน้ำกว้างประมาณ 30 เมตร คันดินกว้างประมาณ 25-30 เมตร สูงประมาณ 4-5 เมตร ภายในตัวเมืองมีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ต่อเนื่องมาจนสมัยวัฒนธรรมทวารวดี คูน้ำหรือคลองคูเมือง กำแพงเมือง สภาพโดยรวมยังอยู่เกือบสมบูรณ์ มีในบางจุดที่ถูกแปรสภาพ หรือถูกทับถมไปบ้างทางทิศตะวันตกของเมือง ส่วนคันดินที่เป็นกำแพงเมือง ยังมีสภาพเป็นเนินดิน รูปร่างยาวรีขนานไปกับแนวคูน้ำวัดบูรพา ในบริเวณตรงข้ามโรงเรียนสตรีศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด บริเวณใกล้บ้านพักครูโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัยที่ยังปรากฏสภาพกำแพงเมืองที่ชัดเจน ในบริเวณอื่นถูกทำลายจนไม่เห็นสภาพแล้ว
ในปี 2544 เทศบาลฯได้กำหนดแผนปรับปรุงกำแพงเมือง คลองคูเมืองขึ้น เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการอนุรักษ์ไว้เป็นหลักฐานสำคัญคู่บ้านคู่เมือง รวมถึงพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจของชาวจังหวัดร้อยเอ็ด และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดร้อยเอ็ด จึงได้สนับสนุนงบประมาณให้สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 8 อุบลราชธานี เข้าดำเนินการศึกษาข้อมูลทางวิชาการ โดยการขุดค้น ขุดตรวจแนวกำแพงเมืองร้อยเอ็ดในบริเวณวัดบูรพาภิราม และตรงข้ามโรงเรียนสตรีศึกษา นำผลที่ได้ไปเป็นแนวทางการศึกษา การอนุรักษ์ พัฒนา ปรับปรุงสภาพกำแพงเมือง คลองคูเมืองร้อยเอ็ดต่อไป
ปี 2545 เทศบาลฯมีแผนดำเนินการปรับปรุงแนวกำแพงเมือง คลองคูเมือง รวมทั้งรื้อฟื้นองค์ประกอบของเมืองที่กล่าวถึงตามตำนานเมืองร้อยเอ็ด ได้แก่ ประตูทางเข้าเมือง 11 ประตู โดยขอความอนุเคราะห์จากนักวิชาการสาขาต่างๆของกรมศิลปากร ช่วยดำเนินการจัดทำแผนการเมืองร้อยเอ็ด ศึกษา ออกแบบการบูรณะ ปรับปรุงกำแพงเมือง คลองคูเมือง ศึกษาออกแบบทางเข้าเมือง โดยเทศบาลฯพร้อมให้การสนับสนุนงบประมาณดำเนินการ
ในปัจจุบัน เทศบาลฯยังคงดำเนินการปรับปรุงสภาพกำแพงเมือง คลองคูเมืองอย่างต่อเนื่อง ในบริเวณชุมชนพิพิธภัณฑ์ที่ถูกผู้บุกรุกเข้าไปสร้างที่พักอาศัยแบบไม่ถาวร ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ต้องปรับปรุง เทศบาลฯยึดหลักการประนีประนอม ความเข้าใจ และความจริงใจในการแก้ปัญหาที่พักอาศัย จึงได้รับความร่วมมือจากชุมชนในการย้ายเข้าไปในที่พักอาศัยแห่งใหม่ที่เทศบาลฯได้จัดเตรียมไว้ให้ ณ “ชุมชนมั่นคงพัฒนา”ที่ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากหลายหน่วยงาน อาทิ ธนารักษ์พื้นที่ร้อยเอ็ด มอบพื้นที่ในบริเวณชุมชนบ้านหนองหญ้าม้าให้เป็นสถานที่ก่อสร้างบ้าน สถาบันองค์กรพัฒนาชุมชน(พอช.) ให้เงินกู้เพื่อปลูกสร้างบ้าน ดอกเบี้ยต่ำ ผ่อนชำระได้นาน โดยพิจารณาจากความสามารถในการผ่อนชำระร่วมด้วย รวมถึงการจัดเตรียมสาธารณูปการขั้นพื้นฐาน ถนนคอนกรีตภายในหมู่บ้าน ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง น้ำประปา ศูนย์บริการสาธารณสุข ซึ่งในปัจจุบันได้มีผู้เข้าร่วมโครงการเข้าพักอาศัยในหมู่บ้านมั่นคงพัฒนาแล้วกว่า 74 ครัวเรือน และเทศบาลฯมีแผนงานที่จะนำ ผู้ที่สนใจเข้าพักอาศัยในระยะต่อไป
ในส่วนของการจัดสร้างหอชมวิว เทศบาลฯได้กำหนดพื้นที่ก่อสร้างในบริเวณกำแพงเมือง คลองคูเมือง เพื่อสอดรับกับโครงการปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ที่ได้ดำเนินการอยู่ ซึ่งได้แรงบันดาลใจจาก“โหวด” เครื่องดนตรีพื้นบ้านของจังหวัดร้อยเอ็ด อันมีต้นกำเนิดจากชาวหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด คืออาจารย์ทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์ ปราชญ์พื้นบ้านคนสำคัญ เป็นผู้คิดค้นทำโหวดจากแรงบันดาลดังกล่าว ผู้ออกแบบได้นำรูปทรงของโหวดมาเป็นแนวคิดหลัก ผสมผสานกับแนวคิดการออกแบบอาคารสมัยใหม่ ความสูงจากฐานถึงยอด 101 เมตร เน้นความกลมกลืนด้านวัฒนธรรม ความยืดหยุ่น ประโยชน์การใช้งาน ความคุ้มค่าต่อการลงทุน ชั้นบนสุดของหอชมวิวสามารถมองเห็นทิวทัศน์เมืองร้อยเอ็ดได้อย่างกว้างสุดตา พื้นที่โดยรอบหอชมวิวเป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจอีกแห่งของชาวร้อยเอ็ด คาดการณ์ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์การพัฒนา “เมืองร้อยเอ็ดน่าอยู่ ผู้คนน่ารัก ฟูมฟักตำนานเมือง ลือเลื่องประเพณีวัฒนธรรม งามล้ำแหล่งท่องเที่ยว” ที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง
โหวด [โหฺวด] น. ของเล่นเป็นท่องไม้ซางที่มีความยาวหลายขนาด มัดรวมกันหรือตรึงด้วยชันโรง มีหางยาวผูกเชือกแกว่งให้เกิดเสียง หรือเล่นประชันกัน โดยแกว่งแล้วเหวี่ยงให้ตกไกลๆ, เครื่องดนตรีดัดแปลงจากของเล่นข้างต้น ใช้เป่า โดยหมุนให้รูรับลม ซึ่งของเล่นและเครื่องดนตรีนี้เป็นวัฒนธรรมของชาวลาวและชาวอีสาน.
(ที่มา : พจนานุกรม ฉบับมติชน, สำนักพิมพ์มติชน 2547)
(ที่มา : พจนานุกรม ฉบับมติชน, สำนักพิมพ์มติชน 2547)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น