แหล่งเรียนรู้ชุมชนสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าลำปาว
(สวนสัตว์เปิดสวนสะออน)
(สวนสัตว์เปิดสวนสะออน)
ความเป็นมา
ในปี พ.ศ. 2519 ประเทศไทยประสพปัญหาทางเศรษฐกิจ มีคนว่างงานเป็นจำนวนมาก
รัฐบาลจึงมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศให้มากขึ้น
ด้วยเห็นว่าการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่ทำให้เกิดการสร้างงานสร้างอาชีพ
และเกิดการกระจายรายได้อย่างมาก
โดยเฉพาะภาคอีสานมีแหล่งท่องเที่ยวอยู่มากมายแต่กระจัดกระจาย
ทำให้ขาดการเชื่อมโยงให้มีคุณค่าและความน่าสนใจมากขึ้น
คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2519
ให้มีโครงการจัดตั้ง "อุทยานสัตว์ป่าลำปาว" ขึ้นที่บริเวณป่าเหนือเขื่อนลำปาวจังหวัดกาฬสินธุ์
เพื่อเป็นศูนย์กลางที่จะเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆในภาคอีสานโดยกรมป่าไม้ร่วมกับองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว (อสท.) เป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบดำเนินการ
เพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ เสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับสัตว์ป่าและป่าไม้ตลอดจนเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของประชาชน โดยเฉพาะเยาวชน ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น สถานีศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าลำปาว และปัจจุบันคือ "สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าลำปาว" สังกัด สำนักบริหารจัดการในพื้นที่ป่าอนุรักษ 9 กรมอุทยาน แห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ เสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับสัตว์ป่าและป่าไม้ตลอดจนเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของประชาชน โดยเฉพาะเยาวชน ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น สถานีศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าลำปาว และปัจจุบันคือ "สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าลำปาว" สังกัด สำนักบริหารจัดการในพื้นที่ป่าอนุรักษ 9 กรมอุทยาน แห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
•
สถานีศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าลำปาว (สวนสะออน) อยู่บริเวณทิศตะวันออกของอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว มีเนื้อที่ 1,420 ไร่ เป็นสวนป่าธรรมชาติ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กรมป่าไม้ กรมชลประทาน กรมทางหลวง ได้ร่วมกันดำเนินการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติสวนสัตว์เปิด ได้นำสัตว์ป่าชนิดต่างๆ มาปล่อยไว้ให้อยู่แบบธรรมชาติดั้งเดิม มี "วัวแดง" เป็นสัตว์ป่าที่เป็นเอกลักษณ์ของสถานีฯ สภาพของป่าเป็นป่าเต็งรังหรือป่าแดงมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์
• เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 07.00-18.00 น. ไม่เสียค่าเข้าชม การใช้บ้านพักของสถานีฯ และตั้งแค้มป์พักแรมต้องขออนุญาตเจ้าหน้าที่สถานีฯ หรือทำจดหมายขออนุญาตล่วงหน้าส่งไปที่ สถานีศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าลำปาว ตู้ ป.ณ. 120 อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ 46000
• ในบริเวณอุทยานสัตว์ป่าลำปาว หรือที่รู้จักและเรียกกันโดยทั่วไปว่า สวนสะออน นี้ได้มีการปรับปรุงพื้นที่และบริเวณเพื่อเป็นการรักษาสภาพป่าธรรมชาติ ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้เต็ง ไม้แดง ที่ค่อนข้างสมบูรณ์ ทั้งยังดูแลให้สะอาด ร่มรื่น สวยงาม ปลูกต้นไม้เพิ่มเติม จัดแบ่งพื้นที่ภายในบริเวณสวนสะออนออกเป็นส่วนๆ กั้นรั้วตาข่ายรอบบริเวณเพื่อนำสัตว์ป่านานาชนิดของเมืองไทยมาปล่อยไว้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วัวแดง สัตว์ป่าหายากในเมืองไทยที่เจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ได้ดีในป่าสวนสะออน จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของอุทยานไปแล้ว นอกจากนี้ยังมีสัตว์ป่าหายากอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ไก่ฟ้าพระยาลอ นกยูง ลิง ชะนี เหยี่ยว ฯลฯ
สิ่งสำคัญที่ถือเป็นภารกิจหลักของสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าลำปาว คือเป็นสถานที่ที่ให้การศึกษาด้านป่าไม้ สัตว์ป่า นิเวศวิทยา ธรรมชาติวิทยาแก่เยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา นักวิชาการและประชาชนทั่วไป เปรียบได้กับห้องเรียนธรรมชาติที่ใช้ธรรมชาติรอบตัวเป็นตำราเรียน มีเจ้าหน้าที่ของสถานีฯ คอยให้การแนะนำให้ข้อมูล ความรู้ ทั้งด้านตำรา เอกสาร การจัดแสดงนิทรรศการ การจัดค่ายอบรมและการให้บริการสถานที่ในการจัดกิจกรรมอยู่ค่ายพักแรม และจัดกิจกรรมด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้ได้เรียนรู้จากสภาพจริง• สิ่งอำนวยความสะดวกในอุทยานสัตว์ป่าลำปาว มีอาคารที่ทำการที่ให้บริการข้อมูล ความรู้ การจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับป่าและสัตว์ธรรมชาติ รวมถึงการอนุรักษ์ การบำรุงรักษา มีค่ายอบรมสัมมนา ที่พักแรม มีเจ้าหน้าที่ไว้เป็นวิทยากรร่วมในการจัดกิจกรรมค่ายพักแรมของโรงเรียนที่มาขอใช้สถานที่ มีหอประชุม ลานรอบกองไฟ จัดเส้นทางเดินป่า สถานที่พักผ่อน เขตศึกษาพันธุ์สัตว์ป่า พันธุ์พืชธรรมชาติ และสวนสุขภาพ เป็นต้น
การเดินทางสิ่งสำคัญที่ถือเป็นภารกิจหลักของสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าลำปาว คือเป็นสถานที่ที่ให้การศึกษาด้านป่าไม้ สัตว์ป่า นิเวศวิทยา ธรรมชาติวิทยาแก่เยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา นักวิชาการและประชาชนทั่วไป เปรียบได้กับห้องเรียนธรรมชาติที่ใช้ธรรมชาติรอบตัวเป็นตำราเรียน มีเจ้าหน้าที่ของสถานีฯ คอยให้การแนะนำให้ข้อมูล ความรู้ ทั้งด้านตำรา เอกสาร การจัดแสดงนิทรรศการ การจัดค่ายอบรมและการให้บริการสถานที่ในการจัดกิจกรรมอยู่ค่ายพักแรม และจัดกิจกรรมด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้ได้เรียนรู้จากสภาพจริง• สิ่งอำนวยความสะดวกในอุทยานสัตว์ป่าลำปาว มีอาคารที่ทำการที่ให้บริการข้อมูล ความรู้ การจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับป่าและสัตว์ธรรมชาติ รวมถึงการอนุรักษ์ การบำรุงรักษา มีค่ายอบรมสัมมนา ที่พักแรม มีเจ้าหน้าที่ไว้เป็นวิทยากรร่วมในการจัดกิจกรรมค่ายพักแรมของโรงเรียนที่มาขอใช้สถานที่ มีหอประชุม ลานรอบกองไฟ จัดเส้นทางเดินป่า สถานที่พักผ่อน เขตศึกษาพันธุ์สัตว์ป่า พันธุ์พืชธรรมชาติ และสวนสุขภาพ เป็นต้น
1.จากจังหวัดกาฬสินธุ์ไปตามถนนถีลานนท์ 10 กิโลเมตรเลี้ยวขวาเข้าโครงการเขื่อนลำปาว ระยะทาง 30 กิโลเมตร ถึงสถานีฯ
2.จากจังหวัดกาฬสินธุ์มุ่งหน้าไปตามทางหลวงหมายเลข 227
ถนนกาฬสินธุ์ - อำเภอสหัสขันธ์ 20 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าสถานีฯ ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร
นางสาวศศิวิมล ม่วงกล่ำ
รหัสนักศึกษา 533410080527 ชั้นปีที่ 2 สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น